อักษรวิ่ง

ยินดีต้อนรับสู่โลกแห่งวิทยาศาสตร์แขนงชีววิทยา Welcome to the world of biological sciences.

วันอาทิตย์ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

การทำงานของระบบประสาท

       
  การทำงานของระบบประสาท ระบบประสาทของสัตว์มีกระดูกสันหลังถ้าใช้โครงสร้างเป็นเกณฑ์ก็แบ่งออกเป็น 2 ระบบ คือ
          1) ระบบประสาทส่วนกลาง (Central Nervous System) ได้แก่ สมองและไขสันหลัง
          2) ระบบประสาทรอบนอก (Peripheral Nervous System) ได้แก่ เส้นประสาทสมองและเส้นประสาทไขสันหลัง 31 คู่   ระบบประสาททั้ง 2 ระดับนี้ ถ้าพิจารณาตามลักษณะการทำงานแล้วจะแบ่งออกเป็น 2 ระบบ คือ

โครงสร้างของระบบประสาท



 ระบบประสาทแบ่งตามตำแหน่งและโครงสร้างได้ 2 ระบบ คือ
          ระบบประสาทส่วนกลาง (central nervous system เรียกย่อ ๆ ว่า CNS) ได้แก่ สมอง และไขสันหลัง และระบบประสาทรอบนอก ( peripheral nervous system เรียกย่อว่า PNS)
          1. ระบบประสาทส่วนกลาง (central nervous system เรียกย่อ ๆ ว่า CNS) ศูนย์กลางของระบบประสาท ในสัตว์มีกระดูกสันหลังทั้งหมด คือ สมอง และไขสันหลัง ซึ่งมีกำเนิดมาจากเนื้อเยื่อเอกโต

พฤติกรรมสัตว์



        สิ่งมีชีวิตทุกชนิดจะมีแบบแผนของการตอบสนองการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในสภาพแวดล้อมต่างๆกัน การตอบสนองอาจเกิดขึ้นทันทีทันใดหรืออาจเป็นไปอย่างช้าๆ แต่มีผลทำให้สิ่งมีชีวิตมีการแสดงออกหรือมีพฤติกรรมในลักษณะต่างๆ ซึ่งมีผลต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตด้วย
          1.) ความหมายของพฤติกรรม
          พฤติกรรม (Behavior) หมายถึง กิริยาของสิ่งมีชีวิตที่แสดงออกมาเพื่อตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่มากระตุ้นทั้งสิ่งเร้าภายในและสิ่งเร้าภายนอก
          สิ่งเร้า (Stimulus) คือ สัญญาณหรือการเปลี่ยนแปลงซึ่งมีผลต่อกิจกรรมของสิ่งมีชีวิต โดยทั่วๆไปจะแบ่งได้เป็น 2 ชนิดคือ


วันเสาร์ที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2557

ระบบหายใจ

          ระบบหายใจหรือระบบของการหายใจ (respiratory system) สิ่งที่ควรเข้าใจในลำดับแรกคือ การหายใจ (respiration) การหายใจเป็นกระบวนการในการสลายสารอาหารของสิ่งมีชีวิต ซึ่งจะได้พลังงานจำนวนหนึ่งมาใช้ในการดำรงชีวิต กระบวนการหายใจต้องใช้เอนไซม์ (enzyme) และแก๊สออกซิเจน ดังนั้น กระบวนการหายใจต้องเกี่ยวข้องกับแก๊สออกซิเจนที่มีกระบวนการในการรับเข้ามาภายในร่างกาย